วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เอ็ดวาร์ด มุนช์ Edvard Munch


 เอ็ดวาร์ด มุนช์ Edvard Munch 


 
Edvard Munch 

มุนช์เกิดเมื่อปี 1863 ในเมือโลเต็น เขาเป็นบุตรคนที่สองของพี่น้องห้าคน บิดาของเขาเป็นแพทย์ผู้เคร่งศาสนา การปฏิบัติแบบคริสเตียนของเขาก็คือ ทำการรักษาคนยากจนในสลัมเมือง - คริสเตียเนียโดยไม่คิดเงินทอง ( ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นออสโล ) อันเป็นที่ซึ่งครอบครัวของมุนช์ย้ายมาอยู่เมื่อเขายังเด็ก มารดาของเขาถึงแก่กรรมด้วยวัณโรคเมื่อเขาอายุ 5 ขวบ บิดาของเขาตกอยู่ในความโศกซึมและปลีกตัวจากสังคม ตัวมุนช์เองก็ป่วยกระเสาะกระแสะ เมื่อเขาอายุ 14 ปี พี่สาวของเขาก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคเดียวกับแม่ 
พอปี 1881 เขาเข้าโรงเรียนศิลปะ คริสเตียเนียเป็นเมืองเล็กๆ ( มีคนอาศัยอยู่ 80,000 คน ) แต่คงเป็นเมืองที่อุดมด้วยงานศิลปะ อันเป็นผลงานจากศิลปินผู้ซึ่งไปศึกษาจากต่างประเทศในยุคนั้น คริสเตียน โครก์ เป็นจิตรกรที่มุนช์ชื่อชมที่สุด เป็นเสมือนโคมไฟในความมืดมนทีเดียว งานของเขามีลักษณะเป็นสัจนิยมที่ก้าวพ้นสุกลปารีสช่วงต่อกูเบต์ถึงมาเนท์ยุดแรก ภาพเขียนของมุนช์ช่วงนั้นจะออกมาลักษณะดังกล่าว 






ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในชีวิตมุนช์ก็คือ มีการรวมกลุ่มคริสเตียเนียโบฮีเมีย ร่วมด้วยจิตรกร นักเขียน และกวี โดยนักคิดอนาคิตส์ชื่อ ฮันส์ แจเกอร์ ( ต่อมาถูกจับคุมขังหลายปี เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "ไบเบิ้ลอนาคิสต์" ) แจเกอร์ได้ประกาศกร้าวถึงการปฏิวัติสังคมโดยพื้นฐานความคิดแบบดาร์วินและโซลา เขาต้องการปลดปล่อยมุนษย์ให้เข้าสู่ระบบสังคมนิยม และเสนอความคิดรักเสรี ( ความรักไม่มีการผูกพัน-บ.ก ) 
" งานทดลอง " ของแจเกอร์ ก็คือ การอยู่ร่วมสามคน โดยตัวเขาเอง , โครก์ และภรรยาของโครก์ชื่อโอดา. มุช์อยู่สามผัวเมียกับคุณมิลลี่ อเลน ภรรยาของดร.คาร์ล เธาโลว์ " พระเจ้าและทุกสิ่งล้วนพังทลาย ทุกคนดิ้นเร่าอย่างดิบเถื่อน, การเต้นรำแบบบ้าของชีวิต " มุนช์บันทึกไว้ภายหลัง " ดวงตะวันสีเลือดผงาดบนแผ่นฟ้า กางเขนจักจ่ายคืนเพื่อ...จากนั้นการทดลองของผู้หญิงของโลกจักปรากฏในฉากและผมจักถูกรับเข้ารีตด้วยเปลวเพลิง " 
มุนช์เดินทางเข้าปารีสครั้งแรกเมื่อปี่ 1885 เขาเดินทางกลับคริสเตียเนียและสร้างงานมาสเตอร์พีสชิ้นแรกชื่อ " เด็กหญิงป่วย " ( The Sick Girl ) 




( รูปที่ 2 "เด็กหญิงป่วย)
เขาได้รับแรงบันดาลใจจากความป่วยไข้และความตายของโซฟีพี่สาวของเขา มุนช์ใช้เกรียงปาดสีขุดลากเป็นภาพบนผืนผ้าใบ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นผลงานแนวเอ็กเพรสชั่นนิสม์ชิ้นแรก ซึ่งมุนช์สร้างขึ้นก่อนที่จะพบเห็นผลงานของแวนโกะห์ ถึงสองปี นักวิจารณ์ในคริสเตียเนียกล่าวถึงงานชิ้นนี้ว่า " ด้วยภาพเด็กหญิงป่วยนี้เอง ผมได้เปิดหนทางใหม่ให้ตัวผม มันกลายเป็นจุดระเบิด" และเขาได้เขียนเรื่องเดียวกันนี้ซ้ำและซ้ำอีกหลายครั้ง 






(" ความตายในห้องเจ็บป่วย")

ช่วงสามปี ( 1889-1891 ) มุนช์ได้รับทุนไปศึกษาศิลปะในฝรั่งเศส ทุกฤดูร้อนเขาจะกลับมานอร์เวย์ เช่าบ้านพักที่อาสการ์ดสตรันด์แถบหุบเขาในออสโล ( Oslo Fjord ) งานเขียนยุคนี้จะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสกุลปารีสช่วงหลัง แต่การแสดงออกด้านเนื้อหานั้นเป็นความคิดของเขาเอง เรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นอารมณ์รู้สึกด้านศาสนาและกระเดียดไปทางงานจิตรกรรมของโกแกง ต่อมาเขารู้จักกันดีในแบบสัญลักษณ์นิยม 
มุนช์เปิดงานแสดงเดี่ยวครั้งแรกในคริสเตียเนียเมื่อปี 1892 และได้รับเชิญจากสมาคมศิลปินเบอร์ลินให้นำผลงานไปแสดงในเยอรมัน นิทรรศการของเขาเปิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกา ผู้คนกล่าวขวัญกันว่า " คล้ายอิบเสน " ในเรื่องอารมณ์ความรู้สึก การกล่างอ้างถึงบุคคลผู้อาวุโสและมีชื่อเสียงกว่าเช่นนี้ ทำให้เกิดผลสะเทือนด้านลบ สมาคมแตกตื่นกับข่าว เรียกประชุมสมาชิกลงคะแนนให้ปิดงาน-แสดง หลังจากเปิดได้สัปดาห์เดียว 


(ออกุสต์ สครินเบิร์ก)
 ศิลปินผู้ตกเป็นข่าวลือนั้นคงเช่าห้องทำงานในเบอร์ลินและใช้เวลาคลุกคลีกับปัญญาชนท้องถิ่นถึงสองฤดู สถานที่พบปะของพวกเขาเป็นห้องสีแดงที่เรียกกันว่า " ลูกหมูดำ " ( เป็นชื่อยี่ห้อไวน์ที่แขวนเหนือประตูทางเข้า " โดยออกุสต์ สตรินเบิร์ก ( August Strindberg ) นักเขียนบทละครชาวสวีเดนผู้ชิงชังผู้หญิง ซึ่งเป็นสมาชอกกลุ่มคนสำคัญ ทั้งยังมีนักเรียนแพทย์ชาวโปแลนด์ นักเคลื่อนไหวการเมือง นักเขียนแพทย์ชาวโปแลนด์ นักเคลื่อนไหวการเมือง นักเขียนและซาตานที่ชื่อสตานิสลอว์ พรซีบีสซิวสกี ( Stanislaw Przybyszewski ) และคนอื่นอีกหลายคน เช่น นักศึกษาวิศวะเยอรมัน จูลิอัส ไมเออร์-แกรเฟอ ( Julius Meier-Graefe ) ซึ่งต่อมาภายหลังเขาเขียนประวัติศิลปะสมัยใหม่เป็นเล่มแรก, และริชาร์ด เดเมล ( Richard Dehmel )กวีชาวเยอรมัน 
 

(นิทซ์เช่)

ความคิดของนิทซ์เช่และดาร์วินซึ่งโจมตีความเชื่อทางศีลธรรมและศรัทธาศาสนาอันกระจายไปทั่วขณะนั้น ดูเหมือนว่ามันเป็นหัวข้อสำคัญของการพูดคุยในห้องสีแดง ในประเด็นของจิตวิทยาและแพทย์ศาสตร์ ความคิดเหล่านี้ได้เข้ากระแทกจิตใจของมุนช์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ ( แม้ว่าความตายและความผิดหวังยังคงเป็นสิ่งที่ผูกพันอยู่กับเขาระยะนี้เป็นช่วงของงานชุด ความตายในห้องเจ็บป่วย อันเป็นภาพปิดสุดท้ายของความป่วยไข้ของโซฟี ) 
มุนช์ถูกปลุกประกายไฟให้โชติโชนใน " ลูกหมูดำ "( Black Pidlet ) ด้วยหญิงสาวที่ชื่อดางี เยลล์ ( Dagny Juell ) นักศึกษาดนตรีสาวชาวนอร์เวย์ ซึ่งเขาเคยรู้จักตั้งแต่อยู่กลุ่มคริสเตียเนียโบฮีเมีย มุนช์พาเธอมายังห้องสีแดง แนะนำให้รู้จักกับ สตรินเบร์ก เดห์เมล พรซีบีสซิวสกี ไมเออร์-แกรเฟอ และคนอื่นอีกหลายคนต่างตกหลุมรุมรักเธอ 









 ดางี ( ซึ่งพวกขาเรียกเธอว่า ดูชา ( Ducha ) ซึ่งหมายถึงวิญญาณ ) เล่นเกมส์หว่านเสน่ห์กับทุกชายจนทุกคนหวาดระแวงและแตกกัน แต่ในที่สุดพรซีบีสซิวสกีก็เป็นคนชนะใจเธอ หลังจากการแต่งงาน มุนช์ ไมเออร์-แกรเฟอ และคนอื่นๆพากันมาเยี่ยมเยียนพรซีบีสซิวสกีที่ห้องพัก นั่งดื่มแสน็ปพิพากษาดางี ขณะที่สามีของเธอบรรเลงเปียนโนโชแปงตลอดคืน ความเป็นเพื่อนและศัตรูพร้อมๆกัน เสมือนพวกเขากำลังติดบ่วงแห่งความริษยา 

















Madonna
1894-95; Oil on canvas, 91 x 70.5 cm; National Gallery, Oslo


ในบรรยากาศเช่นนี้เองที่มีผลกระทบต่อการทำงานของมุนช์ แม้ว่าในช่วงแรกๆนั้นเขาแจ่มชัดและทำงานอย่างต่อเนื่องในชุดความรักและความตาย แขาเดินทางกลับนอร์เวย์ในฤดูร้อนปี 1893 เขาเขียนภาพเสร็จแล้วอย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งสำหรับงานแสดงชุด "ความรัก" ในปี 1895 หนึ่งในนั้นก็คือภาพ " กู่ร้อง " ( The Scream ) อันเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของมุนช์ เขาทำมันได้สำเร็จ เขสค้นพบรูปแบบการแสดงออกเฉพาะตัวบนผืนผ้าใบที่เต็มไปด้วยแผ่นสีอันถักร้อยด้วยเส้นสายเล็กๆเหมือนงานทอผ้าดูว้าวุ่น รูปทรงของสิ่งต่างๆดูเหมือนจะเป็นไปทางอาร์ต นูโว ( Art Nouveau ) 
 





The Scream (or The Cry) 
1893; 150 Kb; Casein/waxed crayon and tempera on paper (cardboard), 91 x 73.5 cm (35 7/8 x 29"); Nasjonalgalleriet (National Gallery), Oslo 
(กู่ร้อง)


อย่างไรก็ตาม ในที่สุดมุนช์รู้สึกกดดันมากขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ เขาหันเข้ามาจับงานภาพพิมพ์ ด้วยคิดว่ามันจะเบาสะดวก เพื่อจะมีรายได้เข้ามาบ้าง สำหรับนักภาพพิมพ์แล้ว ปารีสดูจะเป็นสถานที่ที่โอกาสเปิดแขนอ้ารับกว้าง เขาจึงเดินทางเข้าฝรั่งเศสใน 2-3 ปีต่อมา เขาคงทำงานในธีมส์เดิม แต่ว่าเขาได้ค้นพบภาพพิมพ์ไม้และพิมพ์หินอันมีพลังแห่งแสงและเงากับเส้นสายที่ห้าวหาญดูรุนแรงยิ่งกว่า 
ในปารีส มุนช์ ถูกยอมรับและชื่นชมจากเฟรดริค เดลิอุส ( Freberick Delius ) นักแต่งเพลงชางอังกฤษ และสเตฟาน มาลลาร์เม่ ( Stephane Mallarme ) กวีสัญลักษณ์คนสำคัญของฝรั่งเศส เขายังคงเดินทางกลับไปอาสการ์ดสตรันด์ในฤดูร้อน ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลที่มีชื่อสเยงในชณะนั้น หลายปีนั้นเขาต้องประสลความยุ่งยากกับความสัมพันธ์ครั้งที่สามของเขากับหญิงสาวในกลุ่ม- คริสเตียเนียโบฮีเมีย ที่ชื่อทุลลา ลาร์เซน ( Tulla Larsen ) เธอต้องการแต่งงานกับมุนช์ แต่มุนช์ไม่เคยคิดเรื่องนี้เลย 


 
Puberty
1895; Oil on canvas, 150 x 110 cm (59 5/8 x 43 1/4 in); Nasjonalgalleriet (National Gallery), Oslo


ทุลลาหลงใหลเขามากมาย เธอเป็นางแบบสำคัญในงานจิตรกรรมชุดใหญ่ที่เรียกว่ายุค ระบำชีวิต ( The Dance of Life ) แม้ว่ามุนช์จะแสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามสัตว์ตระกูลเพศเมีย บางครั้งเขากล่าวหาว่าเธอเป็นแวมไพร์ผู้ดื่มเลือดผู้ชาย ซึ่งเธอก็ยอมรับ ในระบำชีวิตภายหลังเขาได้รับรู้ว่ามันมีพื้นมาจากความรักความสัมพันธ์ทางเพศในช่วงนี้ 







The Dance of Life
1899-1900 (120 Kb); Oil on canvas, 49 1/2 x 75 in; National Gallery, Oslo 

(งานชุด"ระบำชีวิต" )


ความสัมพันธ์กับทุลลาถึงจุดแตกหักในปี 1902 เมื่อมุนช์ตั้งจะเอาชนะความลุ่มหลงของเธอ เขาใช้ปืนยิงที่มือของตนเอง เธอปล่อยให้เขาไปโรงพยาบาลคนเดียว เพื่อผ่าตัดเอากระสุนออก เมื่อเขากลับอีกอาทิตย์ต่อมา เขาก็พบว่าเธอบินจากเขาไปแล้วก็ศิลปินหนุ่มอีกคนหนึ่ง 
ปี 1908 มุนช์พบกับความทุกข์อย่างหนักจนกระทั่งเขาเสียสติ มุนช์ต้องพักรักตัว 6-8 เดือนในโรงพยาบาลประสาทเดนมาร์ค ช่วงนี้หมอสั่งให้เขาพักผ่อนโดยเข้าหาธรรมชาติต้นไม้ใบหญ้า ปลีกตัวจากผู้คน เขาใช้เขาร้อยแก้วพร้อมภาพภาพประกอบเรื่อง อัลฟาโอเมกา อันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของผู้หญิงกับผู้ชายคู่แรกของโลก หลังจากออกจากโรงพยาบาลเขาเลิกสูบบุหรี่และงดดื่ม - แอลกฮอล์และพำนักถาวรในนอร์เวย์ และช่วงนี้เองชื่อเสียงและเงินทุนต่างๆก็เข้ามาหาเขา ศิลปินหนุ่มเยอรมันพากันกล่าวขวัญถึงเขาว่าเป็นยักษ์ใหญ่ของเอ็กเพรสชั่นนิสม์ 


       มุนช์ทำงานอย่างหนักตลอดชีวิต ( เขาตายปี 1944 ) ลุปี 1963 พิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมผลงานเปิดพิพิธภัณฑ์มุนช์ในออสโล งานยุคหลังของเขาดูขาดพลังและลักษณะห้าวหาญแตกต่างไปจากยุคแรกบ้าง แต่ยังคงสะท้อนความงามอันเป็นผลจากเนื้อหาช่วงต้นๆ ส่วนใหญ่งานจะออกไปทางทิวทัศน์ เขาศึกษาลักษณะเฉพาะของแบบวัตถุและความเคลื่อนไหว งานช่วงหลังที่มีชื่อมาก ได้แก่ ภาพเหมือนตัวเอง 
" ฉันคงไม่ชื่นชมชีวิตที่ปราศจากความทุกข์ " มุนช์เคยกล่าวในครั้งหนึ่ง " งานศิลปะของฉันเป็นหนี้บุญคุณความทุกข์โศกมากเพียงใด ! มันนำพาความรู้สึกนึกคิดออกมาโดยรูปแบบของคุณธรรมแห่งความรับผิดชอบ แต่คนจักต้องสำนึกด้วยเช่นกัน ประสพการณ์ความทุกข์นั้นๆ ได้สอนบทเรียนดีๆอะไรให้ชีวิต จนกระทั้งเราจักสามารถชื่นชมมันได้ " 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น