วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อโรมาเธอราพี

   

Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด 

เนื่องด้วย อโรมา-เธราปี เป็นการรวมศาสตร์และศิลป์ ของกลิ่น น้ำมันหอมระเหย และการนวดเข้าด้วยกัน โดยอโรมา-เธอราปี เป็นการบำบัดโรคเพื่อจุดประสงค์ให้เกิดความสมดุล ของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ การนำเอาวิธีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ร่วมกับกลิ่นหอมที่อยู่ในสารหอม หรือน้ำมันหอมระเหยจึงเป็นอีกหลายทางเลือก ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อยมาตลอดระยะเวลาหลายพันปี จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ 



8 วิธีทางเลือกกับ Aroma Therapy 


1. การนวด (Message) เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด จะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวด ส่วนกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่น ปรับอารมณ์ให้รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการใช้น้ำมันหอมระเหย ที่มีคุณภาพดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการในการบำบัด จะทำให้การนวดมีประสิทธิภาพขึ้น 




2. การอาบ (Baths) เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ คือ ผสมน้ำอุ่นในอ่างน้ำสำหรับลงแช่ได้ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำ แล้วลงแช่ทั้งตัวสักประมาณ 20 นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่นและการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่ จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น 



3. การประคบ (Compresses) ใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหยแล้วประคบตามบริเวณที่ต้องการ (ห้ามประคบบริเวณดวงตา) ส่วนผสมใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดต่อน้ำอุ่น 100 มล. การประคบนี้จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเฉพาะที่ 

4. การสูดดม (Inhalations) เป็นการใช้กลิ่นหอม จากน้ำมันหอมระเหยอย่างเดียวไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดมกลิ่นหอมทำได้ 2 วิธีคือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หรือหยดน้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม (ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง) 


5. การสูดไอน้ำ (Vaporisation) น้ำมันระเหยบางชนิด เป็นแอนตี้เซปติก (Antiseptic) ฆ่าเชื้อโรคได้ เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไป จะช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้ วิธีทำ หยดน้ำมันหอมระเหย 2-4 หยด ลงในชามใหญ่ ซึ่งผสมน้ำร้อนไว้แล้ว ใช้ผ้าคลุมและก้มหน้าลงเข้าไปอังไอน้ำ สูดไอน้ำร้อนผสมน้ำมันหอมระเหย พักเป็นระยะๆ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องผิวบาง และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นหอบหืด 


6. การเผา/อบห้อง เป็นการอบห้องให้หอม หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรค ในโรงพยาบาลก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะถูกอบอวล ในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ในกรณีที่ต้องการให้ห้องหอมตามกลิ่นที่ต้องการ ก็สามารถทำได้โดย หยดน้ำมันหอมระเหย 3-4 หยด ในน้ำที่เตรียมใส่ในจานสำหรับเผา (Aroma Jar) แล้วจุดเทียนไว้ในห้อง ความร้อน จากเทียนจะทำให้กลิ่นหอม จากน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วห้อง ควรเผา/อบไม่นานกว่า 10 นาที ต่อครั้ง 



7. ใช้ผสมกับเครื่องหอม และน้ำหอม ส่วนมากเครื่องหอม เช่น บุหงา และน้ำหอมจะมีส่วนผสมจากกลิ่นไม้หอม หรือกลิ่นจากดอกไม้นานาพันธุ์ผสมอยู่ การใช้เครื่องหอมและน้ำหอม ส่วนมากจะมีจุดประสงค์ให้เกิดความสบายใจ สะอาด สดชื่น และเป็นที่เร้าใจตราตรึงใจจากผู้คนที่อยู่ใกล้ 


8. ใช้ผสมกับเครื่องสำอางค์ ครีม โลชั่น ความหลากหลายของคุณสมบัติเฉพาะ จากน้ำมันหอมระเหย สามารถช่วยให้เครื่องสำอางค์ ครีมและโลชั่นต่าง ๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ผิวหน้า เส้นผม และสารสกัดบางชนิดยังช่วยในการทำความสะอาดผิวหนัง สร้างความสมดุลให้ผิวอีกด้วย แต่การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด ต้องพิถีพิถัน และศึกษาให้รู้จริงว่า สารชนิดใด มีคุณสมบัติเช่นใด จึงจะก่อประโยชน์สูงสุด 
อโรมาเธอราพีกลิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้มาก "การบำบัดด้วยกลิ่นหอม" จึงนับเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดภาวะผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี และกลิ่นที่แตกต่างกันออกไปนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างออกไปด้วย อาทิเช่นกลิ่นอบเชย… ช่วยบรรเทา อาการหายใจติดขัด ช่วยฟื้นฟูร่างกายช่วงพักฟื้นจากการป่วยได้ดี 

กลิ่นผักชี…ยี่หร่า
มีคุณสมบัติช่วยขับลม ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และเพิ่มน้ำนม
กลิ่นโหระพา…ช่วยสร้างพลัง รู้สึกคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง จะช่วยเรื่องการมีประจำเดือน ให้เป็นปกติ บรรเทาอาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือน
กลิ่นกฤษณา… แก้ปวดท้อง และท้องเสีย เป็นยาขับลม กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เนื้อไม้ใช้รักษาอาการ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

กลิ่นขิง…ช่วยสร้างความต้านทานให้กับร่างกายได้ 
กลิ่นคาโมไมล์ -กลิ่นกุหลาบ - กลิ่นลาเวนเดอร์ …ถ้าต้องการอารมณ์แห่งความสงบ ถ้าต้องการล้างพิษ และเพิ่มภูมิ 
กลิ่นเจอเรเนียม - กลิ่นแซนดัลวู้ด - กลิ่นยลาง-ยลาง …สร้างอารมณ์เย้ายวนใจ 
กลิ่นเลมอน - กลิ่นเปปเปอร์มินท์ - กลิ่นเกรพฟรุท…ช่วยกระตุ้นสมอง และระบบประสาท 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน 1. น้ำมันดอกโหระพา (Basil)/ยอดดอกและใบ การใช้ประโยชน์• มีกลิ่นหอมหวาน และมีกลิ่นเครื่องเทศเจือจางใช้ในเครื่องหอม • ป้องกันการติดเชื้อ ไล่แมลง บรรเทาอาการปวด รวมทั้งโรคเก๊าท์ • ช่วยในการรวบรวมสมาธิ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ช่วยลดอาการเครียด กระวนกระวายจิตใจ อ่อนเพลียจากความกดดัน ช่วยปรุงแต่งอารมณ์ให้สดชื่นจากความเหนื่อยล้า
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน 2. นำมันเบอร์กาม็อท (Bergamot) /ผิวเบอร์กาม็อท การใช้ประโยชน์• กลิ่นสดชื่น เปรี้ยว หวานในขณะ เดียวกัน • ช่วยเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยบำบัดอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย ป้องกันการติดเชื้อและกระจายตัวของเชื้อโรค ใช้กับโรคผิวหนังได้ ทุกชนิด • ช่วยบรรเทาอาการหดหู่ เครียด นอน ไม่หลับจากความเครียด อาการโกรธ กระวนกระวายใจ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลาย แจ่มใส เบิกบาน 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน3. น้ำมันแครอทซี้ด (Carrot Seed) /เมล็ดต้นแครอท การใช้ประโยชน์ • กลิ่นหอมแบบใบไม้แห้ง • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้สงบ เหมาะสำหรับทำสมาธิ
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมั4. น้ำมันแคลรี่ ซาจ (Clary Sage/ยอดดอกและใบต้นแคลรี่ซาจ การใช้ประโยชน์• กลิ่นสมุนไพร • ช่วยให้ความรู้สึกสดชื่น กระชุ่ม กระชวย
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน5. น้ำมันยูคาลิปตัส (Eucalyptus)/ใบต้นยูคาลิปตัส การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมสดชื่น • ช่วยดับอารมณ์ที่พุ่งพล่าน สูดดมช่วยให้จากโล่ง รักษาอาการหวัดคัดจมูก และไล่แมลง
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน6. น้ำมันแฟนเนล (Fennel) /เมล็ดต้นเฟนเนล การใช้ประโยชน์• กลิ่นคล้ายเครื่องเทศจาง ๆ ดอกไม้ และสมุนไพร 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน7. น้ำมันแฟรงคินเซนส์ (Frankincense)/เปลือกต้นแฟรงคินเซนส์ การใช้ประโยชน์• กลิ่นคล้ายเครื่องเทศจาง ๆ ดอกไม้ และสมุนไพร 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน8. น้ำมันเจอราเนี่ยม (Geranium) /ใบและดอกเจอราเนี่ยม การใช้ประโยชน์• กลิ่นเครื่องเทศ ให้ความหอมสดชื่น • ช่วยผ่อนคลายจิตใจ
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน9. น้ำมันเยอรมันคาโมไมล์ (German Chamomile) /ดอกคาโมไมล์แห้งการใช้ประโยชน์• กลิ่นผลไม้ • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ บรรเทาอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ใช้นวดช่วยบำรุงผิวพรรณ 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน10. น้ำมันจัสมิน (Jusmine) /ดอกมะลิ การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมหวานแบบดอกไม้ • ให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานละมุนละไม
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมั11. น้ำมันลาเวนเดอร์ (Lavender)/ดอกลาเวนเดอร์ การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมสดชื่นของดอกไม้ • ผ่อนคลายความวิตกกังวล ลดความ ตึงเครียดก่อนมีรอยเดือนในสตรี • ใช้เป็นสารแต่งกลิ่น ช่วยไล่ยุงและแมลงรบกวน
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน12. น้ำมันเลมอน (Lemon)/ ผิวมะนาว การใช้ประโยชน์• กลิ่นมะนาวหอมสดชื่น • ให้ความรู้สึกสดชื่น ช่วยถนอมผิว
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน13. น้ำมันเลมอนกราส (Lemongrass) /ใบตะไคร้ การใช้ประโยชน์• กลิ่นหวานอมเปรี้ยว • คืนความสดชื่น และพลังงานให้กับ ผู้เหน็ดเหนื่อยและอ่อนเพลีย
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน14. น้ำมันไลม์ (Lime)/ผิวไลม์ การใช้ประโยชน์• กลิ่นสดชื่น • ช่วยกระตุ้นสภาพร่างกายและจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน15. น้ำมันมาร์โจแรม (Majoram)/ดอกและใบต้นมาร์โจแรม การใช้ประโยชน์• กลิ่นรุนแรง แต่อบอุ่นคล้ายเครื่องเทศ • ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน16. น้ำมันเนโรลี่ (Neroli) / ดอกส้ม การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมหวานของส้ม • ให้ความรู้สึกอิ่มเอิบและเคลิบเคลิ้ม
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน17. น้ำมันออเรนจ์ (Orange) /ผิวส้ม การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมสดชื่น • ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน 18. น้ำมันแพทซูลี่ (Patchouli) /ใบอ่อนต้นแพทซูลี่ การใช้ประโยชน์• กลิ่นรุนแรง มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอม • ทำให้สมองปลอดโปร่ง
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมั19. น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ (Peppermint) /ยอดดอกและใบต้น เปปเปอร์มิ้นท์ การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมเย็นซ่า • ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน20. น้ำมันเวทิเวอร์ท (Vetvert) /รากแห้ง การใช้ประโยชน์• กลิ่นอบอุ่น • ปรับสภาพสมดุลย์ในจิตใจ ทำให้จิตใจสงบ 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน21. น้ำมันกระดังงาไทย (Ylang Ylang) / ดอกต้นกระดังงา การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมของพฤกษา ใช้ในเครื่องหอม • ช่วยเสริมการเติบโตของเส้นผม ช่วยบำบัดอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย ป้องกันการติดเชื้อ ใช้กับผิวหนังได้ทุกชนิด• ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด บรรเทาอาการหดหู่ นอนไม่หลับจากความ เครียด อาการโกรธ กระวนกระวายใจ ช่วยให้สดชื่น 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน22. น้ำมันโรมัน คาโมไมล์ (Roman Chamomile) /ดอกแห้ง การใช้ประโยชน์• กลิ่นรุนแรงคล้ายผลไม้ • ช่วยทำให้ผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ใช้นวดบำรุงผิวพรรณ
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน23. น้ำมันกุหลาบ (Rose) /ดอกกุหลาบ การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมหวานละมุนละไม • ให้ความรู้สึกถึงความเป็นผู้หญิงและความรัก
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน24. น้ำมันโรสแมรี่ (Rosemary) /ยอดดอกและใบต้นโรสแมรี่การใช้ประโยชน์• กลิ่นสมุนไพร หอมสมชื่น ติดทนนาน • ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน25. น้ำมันทีทรี (Tea Tree)/ ใบต้นชา การใช้ประโยชน์• กลิ่นเครื่องเทศหอมสดชื่น • บรรเทาอาการอักเสบ
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน 26. น้ำมันไทม์ (Thyme) /ใบและยอดดอกต้นไทม์ การใช้ประโยชน์• กลิ่นสดชื่นของสมุนไพร • ดีต่อระบบหายใจ และช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน27. น้ำมันขิง (Ginger) /เหง้าขิง การใช้ประโยชน์• บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยทำเป็นน้ำมันนวดหรือประคบ • บรรเทาอาการเครียด กระวนกระวาย เหนื่อยล้า ช่วยให้เกิดอาการตื่นตัว ตื่นใจ และอบอุ่น 
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน28. น้ำมันพริกไทยดำ (Black Pepper) / เมล็ดพริกไทย การใช้ประโยชน์• ช่วยบำบัดอาการเมื่อยล้า ปวดตามข้อ ข้อเคล็ดขยับไม่ถนัด • ช่วยให้จิตใจตื่น เสริมพลังใจ
ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน29. น้ำมันจันทน์ (Sendalwood) /แก่นไม้ การใช้ประโยชน์• กลิ่นหอมหวาน • ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังที่แห้งและ ผมเสีย บรรเทาอาการอักเสบ • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ ส่งเสริมการทำสมาธิ ช่วยปรุงแต่งอารมณ์ที่หดหู่ให้สดชื่น ทำให้มีความสุข ช่วยให้นอนหลับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น